EP3.เอกสารที่ต้องแนบสำหรับคุณครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ช่วงเปลี่ยนผ่านที่นำผลการประเมินจากทั้ง ว17 และ ว21 มาเป็นคุณสมบัติ






เอกสารที่ต้องแนบสำหรับคุณครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ช่วงเปลี่ยนผ่านที่นำผลการประเมินจากทั้ง ว17 และ ว21 มาเป็นคุณสมบัติ มีหน้าตาแบบนี้นะคะ โดยผู้บริหารหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผืดชอบ DPA ต้องเข้าไปดาวน์โหลดแบบในระบบและนำมาใส่ผลการประเมิน และให้ท่านผู้บริหาร(คนปัจจุบัน ณ วันที่คุณครู / ผู้บริหาร / ศึกษานิเทศก์ ส่งผลงาน ) เซนต์และสแกนไฟล์เป็นPDF เพื่ออัพโหลดขึ้นสู่ระบบ



ลิงค์ดาวน์โหลดตัวอย่างเอกสาร
https://drive.google.com/drive/folders/1UrJdZkZ2gdLFok7Gx9plRTgOqIAuCX8a?usp=sharing







 📱EP 2. แจกเอกสารสำหรับคุณครูผู้ขอมี/เลื่อนวิทยฐานะในช่วงเปลี่ยนผ่าน

📱EP 2. แจกเอกสารสำหรับคุณครูผู้ขอมี/เลื่อนวิทยฐานะในช่วงเปลี่ยนผ่าน
หลังจากประเมิน PA กันเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาของคุณครูที่จะขอมี/เลื่อนวิทยฐานะ จะเตรียมส่งผลงาน (แผนการจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบเอกสาร .pdf และวีดิทัศน์บันทึกการสอน ไฟล์วิดิทัศน์ที่แสดงถึงสภาพปัญหาและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน กันแล้ว เดี๋ยววันหลังค่อยเล่ารายละเอียด) แต่วันนี้จะว่ากันด้วยเรื่องการนำผลการประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่าน ทั้งผู้ที่ขอใช้ ว17+ว9(ผลจากPA3) หรือ ว21+ว9(ผลจากPA3) นำไปกรอกข้อมูลเมื่อถึงวันที่มีคุณสมบัติครบ (อย่าลืมเช็คคุณสมบัติกันนะคะ) และมีผลงานที่จะส่งครบ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- บันทึกแจ้งท่านผอ.หรือผู้รับผิดชอบ(อันนี้ขึ้นอยู่กับระบบการประสานงานภายในโรงเรียนของแต่ละที่) และให้ครูเตรียมเอกสารเพื่อนำเข้าสู่ระบบคือ
1. ผลคะแนนรวมที่ผ่านในแต่ละวิทยฐานะในระบบ DPA โดยผอ.หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ดาวน์โหลดเอกสารในระบบ DPA เพื่อไปกรอกคะแนนของ ว17/ว21 (มีหน้าเดียว) เมื่อเจ้าหน้าที่กรอกเสร็จแล้วทำเป็นไฟล์ PDF จากนั้นอัพโหลดไฟล์กลับคืน
//ตามคู่มือการใช้ระบบของสถานศึกษา หน้า 29 ใช้เพียงคะแนนกรอกลงระบบเท่านั้น
ไฟล์เอกสารที่สามารถพิมพ์แก้ไขได้สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์นี้
📄แบบรายงานผลประเมิน ว17 + ว9
📑แบบรายงานผลการประเมิน ว21+ว9(PA)
💻นำผลการประเมิน ย้ำว่าลงระบบวันที่ขอมี/เลื่อนวิทยฐานะ (คือวันที่มีคุณสมบัติครบนั่นเอง)
💾ส่วน PA3 (1หน้า)จะนำเข้าสู่ระบบ DPA เป็นผลการประเมินประจำปีงบประมาณ 2565 จะต้องแปลงเป็นไฟล์ PDF ขนาดไม่เกิน 10MB ผอ.หรือเจ้าหน้าที่จะนำลงระบบ DPA หลังจากวันที่ 30 กันยายน 2565
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน, กำลังยืน และ ข้อความ


การประเมินว9 ช่วงเปลี่ยนผ่านโดยใช้ ว17 และ PA

 


การนำผลการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 มารายงานรวมกับผล PA เพื่อขอมี/เลื่อนวิทยฐานะฯ ในปีงบประมาณ 2566💗




      จากคำถามยอดฮิตวิทยฐานะใหม่ของ กคศ.  คุณครูสามารถนำผลการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 มารายงานรวมกับผล PA ได้นะคะโดยนำ ด้านที่3 ส่วนที่ 1 เปรียบเทียบ 2ปีการศึกษา คือปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านเกณฑ์มารายงานรวมกับ ผล PA ปีงบประมาณ 2565  1 รอบการประเมินที่มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70) เพื่อยื่นขอมีวิทยฐานะได้ (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก https://otepc.go.th/th/content_page/item/3518-pa-2.html)




ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (30 คะแนน) 













ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่
 https://drive.google.com/drive/folders/1JiSeJMolYb6wZyM39PfK_2WD4QiVBWzm?usp=sharing




















ระยะเวลาการนำหลักสูตรไปใช้ในการพัฒนาข้าราชการครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


        จากการประกาศรับรองหลักสูตร ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเรื่อง รายชื่อหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ค.ศ. กำหนด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 5/2563

ที่หลายๆ ท่านเฝ้ารอเพื่อนำไปประกอบคุณสมบัติในการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะนั้น ในประกาศมีหลาย ๆ หลักสูตรที่ครูเราเข้าไปอบรม ทั้งแบบ Face to face และแบบ Online เช่น Boot Camp  ,Fabrication Lab ,การอบรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับวิทยากรแกนนำ CCT, การอบรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูปฐมวัย  ครูมัธยม (C4T) การอบรมออนไลน์ การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูปฐมวัย  ครูมัธยม (C4T) ซึ่งมีรหัสหลักสูตรที่แตกต่างกัน ในแนบท้ายประกาศนั้นมีการกำหนดระยะเวลาของการนำไปใช้ ซึ่งคุณครูแต่ละท่านควรทราบเพื่อนำไปประกอบคุณสมบัติของการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะ ตามวงรอบของแต่ละคนให้ดีนะคะ

หลักสูตรที่ได้รับการประกาศเป็น "รายชื่อหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา สายงานการสอน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด" มีระยะเวลาในการนำหลักสูตรไปใช้ ดังนี้

๑. หลักสูตรที่มีผลสำเร็จการพัฒนาไม่ก่อนวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ และได้ดำเนินการ

จัดอบรมมีผลสำเร็กอนวันที่มีประกศบับนี้ ให้นับระยะวลการนำหลักสูตรไปใช้เป็นเวลา ๒ ปี นับตั้งแต่

วันเริ่มการอบรมในครั้งแรก หรือ ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

๒. หลักสูตรที่ยังมิได้ดำเนินกรอบรม ให้นับระยะเวลการนำหลักสูตรไปใช้เป็นระยะเวลา ๒ ปื

นับตั้งแต่วันที่มีประกาศฉบับนี้

               เว้นแต่หลักสูตรนั้นถูกยกเลืก ระงับ หรือมีผลการประเมินการดำเนินการพัฒนาครู่ไม่ผ่าน

ตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือ ก.คต. มีมติใดที่มีผลเกี่ยวข้อง หมีเหตุอันไที่ทำให้หลักสูตรนั้นไม่สามารถ

ดำเนินการต่อไปได้ ให้หลักสูตรนั้นถือเป็นที่สิ้นสุดระยเวลาการนำไปใช้ในการพัฒนาข้าราชการครู

ของสำนักงนคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นับตั้งแต่วันที่มีประกาศที่มีผลเกี่ยวข้องเป็นต้นไป


ดาวน์โหลดประกาศรับรองหลักสูตรได้จากลิงค์นี้นะคะ

https://drive.google.com/…/12mVroExT0e8TFoMbGY1OYpimMkNnnvKo







 

 

เตรียมตัวอย่างไรในการรับการประเมินเพื่อมี / เลื่อนวิทยฐานะตามแนวทางว21

 



รับฟังคำถามของคุณครูที่จะขอรับการประเมิน ว21 ว่าต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร และมีเอกสารอะไรบ้าง เอาแบบนี้ค่ะ ถ้ายังตั้งต้นไม่ได้ว่าจะทำอะไรก่อนดี เริ่มตาม Step นี้ดูนะคะ


1. พบท่าน ผอ.(ท่านเป็นผู้ประเมิน) ว่าจะยื่นขอประเมิน ปัจจุบัน / ย้อนได้หรือไม่ (ถ้าได้ให้ทำบันทึกข้อความขอรับการประเมิน)
2. ทำ วฐ.2 จะได้รู้ว่าเราต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง + ศึกษาเกณฑ์ระดับคุณภาพของแต่ละวิทยฐานะ
3. ดูคุณสมบัติ ว่าตนเองทำ PLC  หรือยัง (plc 50ชม./ปี) ถ้าไม่ได้ทำ มีวิธีแก้ไขนะคะคือใช้ชม.อบรมได้ ครูตุ๋มเคยเขียนบทความและแหล่งอ้างอิงหนังสือสั่งการไว้ก่อนหน้า)
4. ประกาศการนับชั่วปฏิบัติงานต่างๆ ของทางโรงเรียนของท่าน
5. ตรวจสอบชั่วโมงการพัฒนาตนเอง  อบรม 20ชม/ปี ขั้นต่ำ 12 ชม.ส่วนที่ขาดให้นำ PLC มารวมได้ เอกสารรับรองคือ เกียรติบัตร ประกาศรับรองหลักสูตร ดูรหัสหลักสูตรด้วยนะคะ)
6. Id -plan
7. Logbook (สอบถามแต่ละเขต ทำ/ไม่ทำไม่เหมือนกัน)
8. เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ทั้ง 3 ด้าน คือผลการเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ อ่านคิดวิเคราะห์เขียน  (ตามที่สถานศึกษากำหนด)
9. รวบรวมคำสั่ง ที่เกี่ยวกับ3 ด้าน โดยดูระดับคุณภาพของวิทยฐานะด้วย เช่นหนังสือเชิญเป็นวิทยากร หนังสือเข้าร่วมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่าง ๆ 
10. เก็บเกียรติบัตร ครู / นักเรียน (ด้านคุณภาพผู้เรียน และด้าน 2.1)
11. แผนการสอน (สำคัญมากๆ เพราะเป็น หัวใจของการทำ ว21)
12. เอกสารธุรการชั้นเรียน (ถ้าเป็นครูประจำชั้น)
13. ผลสัมฤทธิ์ / เอกสาร แล้วแต่ว่ารร.ใช้โปรแกรมใดในการจัดเก็บเช่น Bookmark ,SGS หรืออื่น ๆ 
14. สื่อ / การใช้งานโดยทำเป็นบันทึกการใช้ หรือใส่รายละเอียดลงในแผนการสอนข้อ สื่อและแหล่งเรียนรู้
15.ภาพถ่ายการทำ PLC การนิเทศการสอน ภาพถ่ายการเป็นวิทยากร ประชุมอบรมต่าง ๆ 
16.สิ้นปีการศึกษา เสนอบันทึกขอประเมิน วฐ.2 รายปี (ประเมินปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 สิ้นภาคเรียนที่1 เพื่อพัฒนา ตัดสินในครั้งที่ 2 เมื่อสิ้นปีการศึกษา)

ระดับคุณภาพใน วฐ. 2 นำเกณฑ์มาเทียบเคียงว่าเราอยู่ระดับคุณภาพใด (เอาเกณฑ์มาเทียบ จะได้รู้ว่าเรามีหลักฐานอะไรแล้วบ้าง/ไม่มีอะไร
ศึกษาแนวทางการทำ
เอกสาร สามารถ ปรับเปลี่ยนตามบริบทสถานศึกษา และตรงกับตัวชี้วัด
เอกสารแนบ ต้องเซ็นต์รับรอง ทั้ง เรา และ ผอ.

ย้ำ.....ต้องยึดตามเกณฑ์ของแต่ละเขตพื้นที่น่ะค่ะสำคัญมากต้องโทรถามเขตของตัวเองก่อน....

เป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่านนะคะ

สรุปการประชุมทางไกลการอบรมการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (โควิด19)

สรุปผลการประชุมผ่านทางไกลของ สพฐ.  7  พฤษภาคม 2563 ตามความเข้าใจสรุปได้ดังนี้ 

ส่วนที่ 1 ท่านอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวโดยสรุป
โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ 3 ทาง
1. เปิดทำการสอนได้ตามปกติ ทำการขออนุญาต “ศบค.จังหวัด” เป็นผู้เห็นชอบ
2. เรียนทางไกลเต็มรูปแบบ
3. สามารถผสมผสานได้
สุดท้ายโรงเรียนสามารถออกแบบเองได้ พร้อมสอนได้จริง ตามบริบทพื้นที่ เน้นว่า "ส่วนกลางทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเท่านั้น"
การประเมินผลระดับชาติยังมีการดำเนินการอยู่
ปฏิทินการจัดการศึกษาปรับเปลี่ยนแค่ปี 2563 เท่านั้น หลังจากนี้เข้าสู่ภาวะปกติเช่นเดิม
ทั้ง สพฐ. และ สพท. งดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น เน้นการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนเป็นสำคัญ
************
ส่วนที่ 2 ท่านสนิท แย้มเกสร  รองเลขาธิการ กพฐ.
มาตรการต่าง ๆ ของโรงเรียนเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนกับการแพร่เชื้อโรคโคโรน่า 2019
อาหารกลางวัน และนมโรงเรียน
1. นักเรียนต้องได้ดื่มนมทุกวัน แนวทางการบริหารจัดการให้โรงเรียนหารือกับท้องถิ่นในการจัดการให้สอดคล้องกับบริบท
2. อาหารกลางวันแจ้งเป็นหนังสือราชการมาถึงโรงเรียนแล้ว
**************
ส่วนที่ 3 ท่านรองวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ.
ที่มาของการเรียนผ่านทางไกล “ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามหลักสูตร”
การดำเนินงานทางวิชาการของโรงเรียน
DLTV ที่นักเรียนที่อยู่ที่บ้านสถานการณ์เปลี่ยนไปให้โรงเรียนทำความเข้าใจกับผู้ปกครองด้วยในแนวทางการจัดการเรียนการสอน
ประถมศึกษา สอน 5 กลุ่มสาระ ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และบูรณาการ
ครูสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพื่อเตรียมการเรียนการสอนวันที่ 18 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2563 ได้ที่ www.dltv.ac.th

การจัดการเรียนการสอนทางไกลในครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่จะเป็นการทดลอง “วิธีการจัดการสอนแบบใหม่ ๆ ให้โรงเรียน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนระเบียบทางวิชาการ เพราะในอนาคตเราเลี่ยงการเรียนออนไลน์ไม่ได้แน่นอน นี่คือการทดลองที่ดี”
*************************
ส่วนที่ 4 ส่วนที่ 4 นายกวินเกียรติ นนท์พละ
รายละเอียดเชิงระบบ โรงเรียนสามารถเลือกใช้ได้ตามเหมาะสม
1. On Site
2. On Air
3. Online
ภารกิจของ ผอ.โรงเรียน ผอ.โรงเรียนดำเนินการจัดระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้ได้ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้ก่อน นอกเหนือความสามารถให้แจ้ง สพท. เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่อไป
- บริหารจัดการแนวทางต่าง ๆ
-  บริหารจัดการภารกิจประจำวัน
- รายงานผลการดำเนินการทันทีสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ภารกิจของครู
- ศึกษาแนวทางการเรียนการสอนตาม DLTV
- จัดทำใบงาน
- สร้างความเข้าใจ ข้อตกลง กับ ผปค. ในการช่วยเหลือดูแลนักเรียน
- นัดหมายวันเวลาพบปะนักเรียน
สำรวจข้อมูลผู้ปกครอง ทาง สพฐ. จะจัดสรรกล่องรับสัญญาณไปให้ (เท่าที่จำเป็นและขาดแคลนจริง)

ราชินีผลไม้ "มังคุด"

     วันนี้ครูตุ๋มมีเรื่องอยากเล่าถึง "มังคุด" หรือที่ถูกเรียกขานว่า "ราชินีผลไม้" ว่ามีสรรพคุณอย่างไรบ้างเพราะจากการที่ศึกษาและในฐานะที่บ้านมีสวนผลไม้ ซึ่งมังคุดก็เป็นหนึ่งในผลไม้ที่คุณตากำนัน คุณยายแอ๊ดของหลานๆได้ปลูกไว้



สรรพคุณของมังคุด


เนื้อมังคุด ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานมังคุดสุกเป็นผลไม้ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอยช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส


          นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกายเพิ่มความกระปรี้กระเปร่ายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดี และมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าลดความเครียด

           การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือดมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาลอีกด้วย

          เนื้อมังคุด มีเส้นกากใยสูงช่วยเรื่องการขับถ่ายและมีวิตามินเกลือแร่สูงมาก เช่น กรดอินทรีย์ น้ำตาลแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก


เปลือกมังคุด
              ส่วนเปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือแทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะแมงโกสติน)ซึ่งแทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็วส่วนแมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใสใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย นอกจากนี้เปลือกมังคุดมีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ยชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย ใช้เปลือกผลแห้งรักษาแผลเปิด

น้ำมังคุด

             น้ำมังคุดช่วยปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล ด้วยการหลั่งสาร Interleukin Iและ Tumor Necrosis Factor ช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีนลดอาการแพ้ภูมิตนเอง (ในโรค SLE) และลดการอักเสบ ในผู้ป่วยเบาหวานตับเสื่อม ไตวาย ข้อเข่าเสื่อม ความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสันไทรอยด์เป็นพิษ ความผิดปกติของสมองอันเนื่องจากการอักเสบ






มังคุดมีกี่กิโลแคลอรี

ในมังคุด 100 กรัม จะมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
แคลอรี 60-63
น้ำ 80.20-84.90 กรัม
โปรตีน 0.50-0.60 กรัม
ไขมัน 0.10-0.60 กรัม
แคลเซียม 0.01-8.00 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.20-0.80 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์ปิก 1.0-2.00 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 14.30-15.60 กรัม
ใยอาหาร 5.00-5.10 กรัม
เถ้า 0.20-0.23 กรัม
ซูโครส กลูโคส ฟรุกโตส 16.42-16.62 กรัม
ฟอสฟอรัส 0.02-12.00 มิลลิกรัม
ไทอามีน 0.03 มิลลิกรัม


  EP3.เอกสารที่ต้องแนบสำหรับคุณครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ช่วงเปลี่ยนผ่านที่นำผลการประเมินจากทั้ง ว17 และ ว21 มาเป็นคุณสมบัติ เอกสารที่ต้...